简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:โดยล่าสุดมีเอกสารสำคัญเกี่ยวกับเกี่ยวกับคริปโตของศาสนาอิสลามออกมา หลังจากนั้นก็มีกระแสตอบรับจากโซเชียลมีเดียค่อนข้างไปในทางลบ เนื่องจากมีหลายกลุ่มคนที่คิดต่าง และไม่เห็นด้วย
เป็นที่รู้กันดีว่า ‘คริปโตเคอเรนซี่’ นั้นแพร่หลายกระจายไปทั่วโลก หลายกลุ่มคน และหลายศาสนา โดยล่าสุดมีเอกสารสำคัญเกี่ยวกับเกี่ยวกับคริปโตของศาสนาอิสลามออกมา หลังจากนั้นก็มีกระแสตอบรับจากโซเชียลมีเดียค่อนข้างไปในทางลบ เนื่องจากมีหลายกลุ่มคนที่คิดต่าง และไม่เห็นด้วย
ในทางหลักศาสนบัญญัตินักวิชาการร่วมสมัยต่างมีทัศนะตรงกัน สกุลเงินดิจิทัลในสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ยังขาดคุณสมบัติที่จะใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน และชำระหนี้ได้ตามหลักศาสนบัญญัติ และไม่สามารถใช้เป็นหน่วยกำหนดราคาสิ่งของต่างๆ ได้ด้วยเหตุผลหลายประการต่อไปนี้
1.สกุลเงินดิจิทัล ถูกสร้างขึ้นจากกลไกคณิตศาสตร์ที่กำหนดจำนวนไว้จำกัด ต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ถอดรหัสเพื่อนำเงินออกจากกลไก สกุลเงินชนิดนี้จึงมีเพียงตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่สามารถจับต้องได้ อีกทั้งไม่มีสถาบันกลางที่น่าเชื่อถือคอยควบคุม และธนาคารทั้งหลายรวมทั้งกฎหมายก็ไม่รับรองว่าสามารถใช้ในการชำระหนี้ได้ และสกุลเงินชนิดนี้ก็ไม่ได้อ้างอิงกับสกุลเงินท้องถิ่นที่มีมูลค่าแน่นอนด้วย ประกอบกับไม่สามารถตรวจสอบผู้ที่อยู่เบื้องหลังความเปลี่ยนแปลง และความผันผวนที่เกิดขึ้นได้
2. ในหลักศาสนบัญญัติกำหนดว่า สกุลเงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน และชำระหนี้ได้จะต้องถูกสร้างขึ้นจากรัฐ ด้วยเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจ และหน้าที่ของรัฐเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของเงินที่ได้รับการยอมรับว่ามีมูลค่าในตัวเอง เช่น เหรียญเงิน เหรียญทองคำ ฯลฯ หรือจะเป็นเงินตราเฟียต (Fiat Currency) ในรูปแบบธนบัตรที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ก็ตาม
ในเรื่องดังกล่าวนี้ท่านอีหม่ามอะหมัด อิบนุ ฮำบัด ได้กล่าวว่า
“ไม่อนุญาตให้ผลิตเหรียญเงินขึ้นใช้ นอกจากที่โรงกษาปกรณ์ ตามคำประกาศของผู้มีอำนาจแห่งรัฐเท่านั้น เพราะหากปล่อยให้เป็นเรื่องของคนทั่วไปสามารถทำได้แล้ว ปัญหาใหญ่ๆ ย่อมจะเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้”
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่แน่ชัดว่า สกุลเงินที่สามารถใช้ได้ตามหลักศาสนา คือ สกุลเงินที่ได้รับการรับรองจากภาครัฐให้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน และชำระหนี้ได้
3. ในหลักศาสนบัญญัติกำหนดว่า ธุรกรรมใดๆ ก็ตามจะต้องมีความชัดเจนในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายในลักษณะแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของ หรือจะเป็นการซื้อขายโดยผ่านธนบัตรอ้างอิงกับมูลค่า และถูกค้ำประกันโดยรัฐ ความชัดเจนที่ว่านี้ครอบคลุมถึงความชัดเจนในตัวคู่ค้า ความชัดเจนในตัวสินค้าที่นำมาแลกเปลี่ยน ความชัดเจนในระบบที่สามารถนำไปสู่การตรวจสอบ และป้องกันความเสียหาย ซึ่งเมื่อเราหันมาพิจารณาเงินดิจิทัลแล้ว จะพบว่าเงื่อนไขสำคัญหลายประการที่กล่าวมานี้ไม่มี และเมื่อเงื่อนไขเหล่านี้หายไป โอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่อคู่ค้า และระบบเศรษฐกิจจึงมีมาก
ท่านอีหม่ามอะหมัด อิบนุ ฮำบัด ได้กล่าวว่า
“ปราชญ์ทั้งหลายต่างมีความเห็นที่ตรงกันว่า การซื้อขายจะถูกต้อง และใช้ได้นั้นจะต้องมีความโปร่งใสชัดเจนจากบุคคลที่ชัดเจน สินค้าที่ชัดเจน และต้องทำผ่านช่องทางได้ก็ตามที่สามารถสืบรู้ และตรวจสอบได้”
ทั้งนี้จึงสรุปได้ว่า การใช้สกุลเงินดิจิทัล ตามสภาพที่เห็น และเป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อธุรกรรม และชำระหนี้สิน ไม่เป็นที่อนุญาตตามหลักศาสนบัญญิติ ส่วนในอนาคตข้างหน้าหากมีการปรับแต่งสกุลเงินดิจิทัลให้มีรูปแบบ และเงื่อนไขที่สอดคล้องกับหลักศาสนบัญญัติแล้ว หลักการ และคำวินิจฉัยย่อมเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน
ติดตามข้อมูลข่าวสารวงการคริปโต พร้อมตรวจสอบ Exchange ทั่วโลก รวบรวมข้อมูล Shitcoin และโครงการเถื่อน ได้ที่….
App : “WikiBit” (ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ฟรี!)
Facebook : https://www.facebook.com/Wikibit.th/
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ราคาของ Bitcoin ร่วงลงกว่า 2.19% สู่ระดับ $83,259 หลังจากนโยบายภาษีตอบโต้ของทรัมป์มีผลบังคับใช้ ส่งผลกระทบต่อตลาดคริปโตและตลาดหุ้นทั่วโลก โดยไทยเองก็โดนผลกระทบจากภาษีนำเข้าสูงถึง 36% นอกจาก BTC แล้ว Altcoin ส่วนใหญ่ก็ดิ่งลงเช่นกัน มีเพียงไม่กี่โปรเจกต์ที่ยังคงต้านทานแรงกดดันจากตลาดได้
Scammer ในโลก Crypto มักใช้วิธีหลอกลวงต่าง ๆ เช่น การปลอมแปลง ICO, ใช้ Wallet ปลอม หรือการ Phishing เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ยังมีการปั่นราคาเหรียญและหลอกให้ลงทุนตามกระแส การใช้โบรกเกอร์เถื่อนก็เสี่ยงต่อการสูญเสียเหรียญ จึงควรระมัดระวังและตรวจสอบให้ดี.
ตัวตนของ “ซาโตชิ นากาโมโตะ” ผู้สร้าง Bitcoin ยังคงเป็นปริศนาที่โลกคริปโทไม่เคยไขกระจ่าง แม้เวลาจะผ่านไป Benjamin Wallace นักสืบและอดีตนักเขียน Newsweek ได้อุทิศเวลาถึง 15 ปี เพื่อตามหาผู้สร้าง Bitcoin โดยการวิเคราะห์หลักฐานที่ซาโตชิทิ้งไว้ รวมถึงตรวจสอบสมาชิกกลุ่ม Cypherpunks ที่น่าสงสัย เช่น James A. Donald อย่างไรก็ตาม แม้จะพบเบาะแสที่เชื่อมโยงได้มากมาย Donald กลับปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา Wallace ตระหนักในที่สุดว่า Bitcoin ได้เติบโตขึ้นจนอยู่เหนือผู้สร้าง และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบารมีของซาโตชิอีกต่อไป โดยซาโตชิอาจเป็นเพียงสัญลักษณ์แห่งอิสรภาพทางการเงินในศตวรรษที่ 21 มากกว่าจะเป็นตัวตนของใครคนหนึ่ง
คณะทำงานด้านคริปโทเคอร์เรนซีของ SEC สหรัฐฯ จัดการประชุมโต๊ะกลมครั้งแรกเพื่อหารือถึงแนวทางการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและกรรมาธิการ SEC เข้าร่วม การประชุมเกิดขึ้นท่ามกลางความพยายามของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมคริปโทฯ และยกเลิกมาตรการควบคุมเข้มงวดในยุครัฐบาลไบเดน เช่น การฟ้องร้องบริษัทคริปโทฯ รายใหญ่ การหารือครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การจัดประเภทโทเคนดิจิทัลและการพัฒนากฎเกณฑ์ใหม่ เพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมคริปโทฯ ภายใต้การกำกับดูแลที่เหมาะสม