简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สรุปข่าว FED เมื่อคืน ส่งผลต่อตลาดยังไงบ้าง ? จะขึ้นหรือจะลง !
เมื่อวานนี้ Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% (ครั้งที่ 4) มาอยู่ที่ 4% ขณะที่ตลาดหุ้น สหรัฐถูกกดลงมา -3.3% ถึง -1.5% หลังประธาน Fed ยังมุ่งเป้าเดินหน้าขึ้น ดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อให้อยู่ระดับ 2% แต่เชื่อว่าประเด็นนี้กดดันตลาดหุ้นช่วงสั้น ๆ เนื่องจากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยยังเป็นทิศทางชะลอลงในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้น 0.5% และตลาดคาดเงินเฟ้อสหรัฐ เดือน ต.ค. อยู่ที่ 8.1%yoy ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 (รายงาน ณ 10 พ.ย. 65) แตกต่างกันกับเงินเฟ้อยุโรปที่ยังเป็นลักษณะเร่งขึ้น ทำให้ระยะถัดไปจะเห็นการเร่งขึ้นดอกเบี้ยในยุโรปมากกว่าสหรัฐ กดดันให้ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง และเงินบาทมีเสียรภาพมากขึ้น ช่วยลดความ เสี่ยงที่นักลงทุนต่างชาติจะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนลง
โดยคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มีมติ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.75% สู่ระดับ 3.75-4.00% ตามตลาดคาดคืนที่ผ่านมา (ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี นับตั้งแต่ ม.ค.2551) ขณะที่รายละเอียดเพิ่มเติม คือ นาย Powell ปฏิเสธแนวคิดที่ Fed จะหยุดขึ้นดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ แต่ต้องใช้ความอดทนและ รัดกุมในการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อที่จะทำให้เงินเฟ้อลงไปอยู่ในระดับ 2% จึงทำให้นักลงทุนคาด FED จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยชะลอลงในอนาคต สังเกตได้จาก FED Watch Tool ที่บ่งชี้ว่าการ ประชุมรอบ ธ.ค.65 ตลาดมองว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.50% เท่านั้น ด้วยความน่าจะ เป็นระดับ 56.8% ซึ่งก่อนการประชุม FED คืนที่ผ่านมา ตลาดคาด FED จะขึ้นดอกเบี้ย รอบ ธ.ค.65 อีก 0.75% ด้วยความน่าจะเป็นระดับ 50.3%
โดยนักลงทุนมองว่า FED จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกเบาลง เนื่องจาก CPI สหรัฐฯ มี แนวโน้มเป็นขาลง หลังผ่านจุดสูงสุดในเดือน มิ.ย.65 ที่ CPI อยู่ระดับ +9.1%YoY โดยสิ่ง ที่นักลงทุนติดตาม คือ CPI สหรัฐฯ เดือน พ.ย.+65 ที่ตลาดคาด +8.1%YoY (ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ +8.2%YoY)
สรุป FED ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ตามคาด ซึ่งอนาคต FED ยังต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัด เงินเฟ้อต่อไป แต่จะพิจารณาถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้วย บวกกับ CPI สหรัฐฯเห็น แนวโน้มลดลงเรื่อยๆตั้งแต่เดือน ก.ค.65 โดยฝ่ายวิจัยฯคาด อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) กลับมาเป็นบวกได้ในเดือน มิ.ย.66 ซึ่งทำให้นักลงทุนมองว่า FED จะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกเหมือนอดีต ท่ามกลางความกังวลเงินเฟ้อที่พุ่งสูง ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ซบเซา ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตของยุโรปยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยล่าสุดเอสแอนด์พี โกลบอล ประกาศตัวเลขดัชนีPMI ภาคการผลิตของยุโรป ในเดือนต.ค. อยูที่ระดับ 46.4 จุด (ต่ำกว่าคาดที่ระดับ 46.6 จุด) ปรับตัวลงจากเดือน ก.ย. ที่ระดับ 48.4 จุด และยังหดตัว ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 หลังคำสั่งซื้อใหม่และความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจลดลง
อย่างไรก็ตามในระยะถัดไปหาก ECB เร่งขึ้นดอกเบี้ยที่ร้อนแรงเพื่อสกัดเงินเฟ้อ น่าจะเป็น อานิสงค์บวกต่อการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินยูโร (น้ำหนัก 57.6% ในตะกร้าเงินดอลลาห์) และ ทำให้ Dollar Index ปรับตัวอ่อนค่าลงมาในที่สุด ขณะที่ค่าเงินบาทคาดว่าจะกลับมาแข็ง ค่าเช่นเดียวกัน ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจยุโรปจะเข้าสู่ภาวะ Recession ยังเข้ามาอยู่เรื่อยๆ ทั้งภาค การผลิตที่หดตัว รวมถึงเงินเฟ้อที่คาดว่ายังไม่ผ่านจุดพีค ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ ECB จำเป็นต้องเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยในระยะถัดไป และน่าจะทำให้ค่าเงินยูโรกลับมา แข็งค่ามากขึ้น
ข้อมูลจาก : Asia Plus
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex อ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูลหมดไส้หมดพุง แอปเดียวที่จบครบ เรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ดูโบรกเกอร์ต่างๆเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือ คลิก : https://www.wikifx.com/th/search.html
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 28-29 ม.ค. นี้ ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกของปี 2568 รวมทั้งจับตาถ้อยแถลงของเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด โดยคาดว่าการแสดงความเห็นของพาวเวลอาจจะบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ
เมื่อเทศกาลตรุษจีนใกล้เข้ามา WikiFX ขอส่งความปรารถนาดีอย่างจริงใจถึงคุณ ด้วยการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากคุณในเส้นทางการลงทุน WikiFX มุ่งมั่นที่จะสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลฟอเร็กซ์ที่ปลอดภัย โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
อาการทนแดงและไม่ทนฟ้าเกิดจาก “ความโลภ” และ “ความกลัว” ซึ่งเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องเผชิญ การแก้ไขปัญหานี้ต้องอาศัยวินัย ความรู้ และการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง หากคุณสามารถวางแผนการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ จัดการความเสี่ยงได้ดี และควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ คุณจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ให้เป็นโอกาสในการทำกำไรในตลาด Forex ได้อย่างยั่งยืน
Exness
IB
TMGM
FOREX.com
OANDA
Neex
Exness
IB
TMGM
FOREX.com
OANDA
Neex
Exness
IB
TMGM
FOREX.com
OANDA
Neex
Exness
IB
TMGM
FOREX.com
OANDA
Neex