简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ลุ้น รายงานผลประกอบการบรรดาบริษัทเทคฯ ใหญ่ พร้อม จับตา PCE สหรัฐฯ และการประชุม BOJ
• ควรเตรียมรับมือความผันผวนในตลาดการเงินในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุม BOJ พร้อมรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ (GDP Q1/2023 และ อัตราเงินเฟ้อ PCE) และ รายงานผลประกอบการ
• เงินดอลลาร์มีโอกาสผันผวนสูง ซึ่งหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด หรือ ตลาดปิดรับความเสี่ยงจากรายงานผลประกอบการที่แย่กว่าคาด ก็อาจหนุนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ได้ ทว่า ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดรับรู้ผลการประชุม BOJ โดยเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) อาจแข็งค่าขึ้นได้ ถ้า BOJ มีการปรับนโยบายการเงินเซอร์ไพรส์ตลาด ส่วนค่าเงินบาทอาจแกว่งตัวในกรอบเดิม โดยปัจจัยกดดันฝั่งอ่อนค่าอาจมาจากโฟลว์ธุรกรรมจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนต่างชาติ โฟลว์ธุรกรรมปลายเดือนของผู้นำเข้า และโฟลว์ซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ทั้งนี้ ความผันผวนอาจมาจากฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติซึ่งอาจยังไม่รีบกลับเข้ามาลงทุนในตลาดทุนไทยได้ในระยะสั้น ในเชิงเทคนิคัล ต้องจับตาว่าเงินบาทจะสามารถทรงตัวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน (34.30 บาทต่อดอลลาร์) ได้หรือไม่
• มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 34.00-34.60 บาท/ดอลลาร์
– เนื่องจากสัปดาห์นี้จะเข้าสู่ช่วง Silent Period ของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ก่อนการประชุมเฟดในเดือนพฤษภาคม (วันที่ 2-3) ทำให้ผู้เล่นในตลาดจะให้ความสนใจรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่ อาทิ Microsoft, Meta, Alphabet และ Amazon เป็นต้น โดยในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ บรรดานักวิเคราะห์ประเมินว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงได้แรงหนุนจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ทำให้การบริโภค โดยเฉพาะในส่วนภาคการบริการยังคงขยายตัวได้ดี ทำให้เศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้อาจโต +2.0% จากไตรมาสก่อนหน้าเมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งก็เป็นการชะลอลงบ้าง ตามแรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของเฟดและภาวะเงินเฟ้อสูง (เศรษฐกิจโตกว่า +2.6% ในไตรมาสที่ 4 ของปีก่อนหน้า)
อย่างไรก็ดี แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับภาคการบริการและการบริโภคอาจเริ่มชะลอตัวลงมากขึ้นได้ สะท้อนผ่าน ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณชะลอลง ชี้จากยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกและการว่างงานต่อเนื่อง (Initial & Continuing Jobless Claims) ที่อาจทยอยปรับตัวขึ้น ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Conference Board Consumer Confidence) เดือนเมษายน ก็อาจลดลงสู่ระดับ 104 จุด อนึ่ง การชะลอลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจไม่ได้ชัดเจนหรือรุนแรงนักในระยะสั้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ PCE โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ก็อาจอยู่ในระดับสูงกว่า 4.5% ทำให้เฟดยังมีความจำเป็นที่ต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ +25bps สู่ระดับ 5.00%-5.25% ในการประชุมเดือนพฤษภาคม
– ตลาดมองว่า เศรษฐกิจยูโรโซนยังมีแนวโน้มขยายตัวราว +1.4%y/y ในไตรมาสแรกของปีนี้ หนุนโดยการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการบริการ ในขณะที่ภาคการผลิตนั้นชะลอตัวลงชัดเจน สอดคล้องกับรายงานดัชนี PMI ในช่วงต้นปี ซึ่งภาพเศรษฐกิจยูโรโซนที่ยังคงขยายตัวอยู่และอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) เป็นอย่างมาก จะหนุนให้ ECB สามารถเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องได้ (ตลาดคาดอัตราดอกเบี้ย Deposit Facility Rate อาจแตะระดับ 3.75% จากระดับ 3.00% ในปัจจุบัน) และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนยุโรป โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร/การเงิน และกลุ่ม Healthcare นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ ECB เพื่อประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของ ECB
– ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งจะเป็นการประชุมครั้งแรกของผู้ว่าฯ BOJ ท่านใหม่ (Kazuo Ueda) แม้เราจะคาดว่า BOJ จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.10% พร้อมกับคงเป้าหมายบอนด์ยีลด์ 10 ปี ญี่ปุ่น ที่ระดับ 0.00%+/-0.50% แต่ผู้เล่นในตลาดก็เริ่มคาดหวังว่า BOJ อาจมีการส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้ หลังอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาพลังงานและอาหารสด (Core-Core CPI) เร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 3.8% ซึ่งต้องจับตาว่า BOJ จะมีการปรับนโยบายการเงิน เช่น ปรับกรอบของบอนด์ยีลด์ 10 ปี หรือ ยกเลิกการทำ Yields Curve Control ในการประชุมครั้งนี้หรือไม่ เพราะหาก BOJ ปรับใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ก็อาจหนุนให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) แข็งค่าขึ้นได้ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นผ่านรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนมีนาคม
– ตลาดคาดว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอาจกดดันให้ ยอดการส่งออก (Exports) เดือนมีนาคมอาจหดตัวถึง -16%y/y สอดคล้องกับการปรับตัวลงแรงของดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนมีนาคม อนึ่ง ยอดการนำเข้า (Imports) ก็อาจหดตัวราว -5%y/y ตามราคาสินค้าโดยเฉพาะสินค้าพลังงานที่ลดลงต่อเนื่อง ทำให้ดุลการค้าอาจขาดดุลราว -1 พันล้านดอลลาร์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
แม้ว่า MBTI จะไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการลงทุนโดยตรง แต่การเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสามารถช่วยให้เลือกกลยุทธ์และรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับนิสัยและความต้องการของเราได้
ทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืดต่างก็มีผลกระทบที่แตกต่างกันในมุมมองนักเทรด แต่สิ่งสำคัญคือการเข้าใจสภาพตลาดและปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม ถ้าเงินเฟ้อมาสูง เราต้องมองหาสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าได้ แต่ถ้าเงินฝืดมาแรง การถือเงินสดหรือสินทรัพย์ปลอดภัยอาจเป็นทางรอด หมั่นติดตามข่าวเศรษฐกิจและปรับกลยุทธ์ให้ทัน เกมเศรษฐกิจแบบนี้ ถ้ารู้ทัน เราก็ชนะ!
บทวิเคราะห์อทองคำ
หลังทรัมป์รับตำแหน่งตลาดการเงินเป็นอย่างไรบ้าง บล.เอเซียพลัส ชี้ความกังวลที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น หนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยง มองถ้าสหรัฐอเมริกาไม่ดุดัน ตลาดหุ้นไทยจะค่อย ๆ ดีขึ้น
VT Markets
OANDA
FBS
IB
FP Markets
XM
VT Markets
OANDA
FBS
IB
FP Markets
XM
VT Markets
OANDA
FBS
IB
FP Markets
XM
VT Markets
OANDA
FBS
IB
FP Markets
XM