简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สถิติคนไทยโดนหลอกลวงทางออนไลน์ใน 1 ปี มีมูลค่าเสียหายเกือบ 40,000 ล้านบาท
ตำรวจไซเบอร์ เปิดสถิติหลอกลวงทางออนไลน์ ในรอบ 1 ปี พบยอดแจ้งความเฉียด 3 แสนคดี มูลค่าเสียหายเกือบ 40,000 ล้านบาท ชี้คดีหลอกขายสินค้าสูงที่สุด ตามด้วยหลอกให้โอนเงิน ด้าน เอไอเอส เปิดตัว ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล พบคนไทยมีความรู้ด้านดิจิทัล แค่พื้นฐาน พบว่า มีกว่า 44% ต้องมีการพัฒนาทักษะให้เท่าทันโลกดิจิทัล
ปิดเผยสถิติการหลอกลวงทางออนไลน์ ผ่านระบบแจ้งความออนไลน์บน www.thaipoliceonline.com ยอดสะสม 1 มี.ค. 65 - 31 พ.ค. 2566 พบว่ามียอดสูงถึง 296,243 เรื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายเกือบ 40,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นเฉลี่ย 525 คดี/วัน และ แบ่งเป็นความเสียหายเฉลี่ยคิดเป็น 74 ล้านบาทต่อวัน
โดยมีการจัดอันดับความเสียหายที่ประชาชนถูกมิจฉาชีพหลอกลวง มีดังนี้
อันดับ 1 คดีส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์ ซึ่งมีมากกว่า 1 แสนคดี หรือ คิดเป็น 37.25%
อันดับ 2 เป็นเรื่องหลอกให้โอนเงิน จำนวน 36,896 คดี หรือ คิดเป็น 13.65%
อันดับ 3 เป็นการหลอกให้กู้เงิน จำนวน 33,517 คดี หรือ คิดเป็น 12.40%
อันดับ 4 หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 22,740 คดี คิดเป็น 8.41% และ
อันดับ 5 การข่มขู่ทางโทรศัพท์ 20,474 คดี คิดเป็น 7.57%
พล.ต.ต.นิเวศน์ ระบุว่า สถานการณ์การหลอกลวงทางออนไลน์ ขณะนี้มีการปรับตัวดีขึ้นบ้าง หลังจากภาครัฐ มีการออกกฎหมายเข้มงวด ในการจัดการกลุ่มมิจฉาชีพ ที่หลอกลวงทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น ทั้งการจัดการบัญชีม้า ซิมผี และ SMS ปลอม ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็มีการออกประกาศให้ สถาบันการเงิน ห้ามส่งลิงค์แนบ ไปยังผู้ใช้ รวมถึงการเพิ่มการปรับปรุงระบบการโอนเงิน โดยใช้การสแกนใบหน้า แต่อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมิจฉาชีพ ก็ไม่ได้อยู่นิ่งๆ มีการคิดค้น กลลวงรูปแบบใหม่มากมาย มาใช้หลอกประชาชน ดังนั้นประชาชนต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยี เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อให้กับมิจฉาชีพ นำไปสู่การเสียทรัพย์สินอันมีค่าของตัวเอง
แนวทางป้องกันโดนหลอกออนไลน์
• ห้ามกดลิงก์จาก SMS เพื่อติดตั้งแอปหรือรับเพิ่มเพื่อนในไลน์เด็ดขาด
• ตัดสายทิ้งทันที เมื่อรับสายที่ปลายสายเป็นเสียงอัตโนมัติหรือผู้ที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ที่จู่ ๆ ก็ให้โอนเงินเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ หรือผู้ที่โทรมาตีเนียนเป็นคนรู้จัก
• ห้ามโอนเงินทุกกรณี หากไม่สามารถระบุตัวตนปลายทางได้
• ตรวจสอบ URL ให้ถูกก่อนกรอกรหัสผู้ใช้งาน หากไม่ชัวร์ห้ามกรอกเด็ดขาด
• หลีกเลี่ยงการกรอกรหัสผ่านจาก Pop up หรือ Single Sign On
ขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจาก : Thai PBS
ก่อนที่จะเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ไหนก็ตาม แอดเหยี่ยวอยากให้ศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง ถือว่าแอดเตือนแล้วนะ!!! ที่สำคัญอย่าลืมมาตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี !
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
GVD Markets ออกคำเตือนด่วนถึงนักเทรดทั่วโลก หลังพบเว็บไซต์ปลอมในอินโดนีเซียแอบอ้างชื่อและโลโก้ของบริษัท เพื่อหลอกลวงให้ผู้ใช้ฝากเงิน ก่อนยึดทรัพย์สินโดยผิดกฎหมาย เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อทั้งนักลงทุนรายย่อยและสถาบันการเงิน GVD Markets จึงร่วมกับ WikiFX เร่งตรวจสอบ พร้อมแนะนำให้นักเทรดตรวจสอบข้อมูลโบรกเกอร์ผ่านแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ และรายงานกิจกรรมต้องสงสัยทันที เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงออนไลน์ในอนาคต
Michael Bamber เทรดเดอร์สายกองทุน แชร์ 5 หลักการเร่งเส้นทางสู่ความสำเร็จในตลาด Forex โดยไม่ต้องลองผิดลองถูกนานปี เน้นวินัย ระบบความเสี่ยงที่ชัดเจน คุมขาดทุนรายวัน มีกลยุทธ์สำรอง และควบคุม Drawdown จุดสำคัญคือ “อยู่รอด” ไม่ใช่แค่ “ได้เยอะ” – เพราะตลาดมีทุกวัน แต่พอร์ตพังได้แค่ครั้งเดียว.
บทความนี้พาผู้อ่านไปรู้จักกับ “ดาร์กเว็บ” พื้นที่ลับของอินเทอร์เน็ตที่มักใช้ในการซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมาย เช่น บัญชีการเงิน ข้อมูลบัตรเครดิต และซอฟต์แวร์แฮกระบบ ซึ่งกลายเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อความปลอดภัยของนักเทรด โดยเฉพาะในยุคที่การลงทุนเชื่อมโยงกับโลกออนไลน์อย่างแน่นแฟ้น บทความยังแนะนำวิธีป้องกันตัวเอง 5 ข้อ เช่น ใช้ 2FA และตั้งรหัสผ่านอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวหลุดไปยังพื้นที่อันตรายเหล่านี้ พร้อมย้ำว่า “การรู้เท่าทัน” คือเกราะป้องกันชั้นแรกของนักลงทุนยุคดิจิทัล.
วงการคริปโตในไทยอาจได้รับผลกระทบครั้งใหญ่ หลัง Binance มีแนวโน้มจะถอด “เงินบาท” ออกจากระบบซื้อขายแบบ P2P ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง ก.ล.ต. ไทยออกมาตรการควบคุมธุรกรรมคริปโตอย่างเข้มงวด เพื่อต่อสู้กับบัญชีม้าและการฟอกเงิน โดย Binance ยังไม่ระบุวันชัดเจน แต่ความเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลต่อพฤติกรรมนักลงทุนและภาพรวมตลาดคริปโตในประเทศ.
Exness
IB
Neex
STARTRADER
FXCM
GO MARKETS
Exness
IB
Neex
STARTRADER
FXCM
GO MARKETS
Exness
IB
Neex
STARTRADER
FXCM
GO MARKETS
Exness
IB
Neex
STARTRADER
FXCM
GO MARKETS