简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:หยุดอ่านก่อน ! ภัยร้ายยุคดิจิทัล แค่คลิกลิงค์ก็โดนดูดเงิน
อะไรที่มีคุณประโยชน์ก็อาจมีอันตรายแฝงอยู่ อย่างเทคโนโลยีทางการเงินที่ทำให้การใช้ชีวิตของเราสะดวกสบายก็มาพร้อมกับมิจฉาชีพออนไลน์ที่มากขึ้นทุกวัน แล้วโจรพวกนี้ก็ขยันสรรหาสารพัดวิธีที่จะมาขโมยเงิน หลอกลวง และต้มตุ๋นจนหลาย ๆ คนตกเป็นเหยื่อ มาดูกันว่าภัยทางการเงินในยุคดิจิทัลที่พบบ่อย ๆ มีอะไรบ้าง
1. Phishing คือ การแอบอ้างว่าตนเองเป็นผู้ให้บริการ เพื่อหลอกให้เรากรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต เลขที่บัญชีธนาคาร ชื่อผู้ใช้งาน หรือรหัสผ่าน เพื่อให้มิจฉาชีพสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปสวมรอยทำธุรกรรมต่อไป โดยทั่วไป มิจฉาชีพจะวางเหยื่อล่อโดยการส่ง SMS หรืออีเมลปลอมที่ออกแบบให้ดูคล้ายกับอีเมลของผู้ให้บริการที่เราใช้บริการอยู่ โดยมิจฉาชีพมักใช้ความตกใจของเราเป็นเครื่องมือ เช่น อ้างว่าเราถูกอายัดบัญชี หรือข้อมูลถูกแฮก และขอให้เราเข้าไปกรอกข้อมูลที่เว็บไซต์ที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นให้ดูคล้ายกับเว็บไซต์จริงของผู้ให้บริการ เมื่อเราหลงเชื่อกรอกข้อมูลไป ข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังมิจฉาชีพทันที
การรับมือภัย Phishing ง่ายมาก แค่เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น เช่น เมื่อได้รับอีเมลหรือ SMS ที่อ้างว่าเป็นผู้ให้บริการ ควรดูว่ามาจากผู้ให้บริการจริงหรือไม่ และไม่คลิกลิงก์ที่แนบมากับอีเมลหรือ SMS ที่เราไม่รู้จัก เก็บข้อมูลส่วนตัวไว้เป็นความลับ หรือหากไม่แน่ใจให้โทรศัพท์สอบถามผู้ให้บริการโดยตรง
ถ้าโดนดูดเงินต้องทำอย่างไร ?
ช่วงที่ผ่านมามีข่าวหลายคนโดนดูดเงินจากบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคาร เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดจากการที่สถาบันการเงินถูกเจาะระบบหรืออะไร จริง ๆ แล้วเป็นการโกงผ่านบัตรจ่ายเงิน ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต แต่ที่หลายคนคิดว่าบัญชีถูก “ดูดเงิน” เพราะตามธรรมชาติของบัตรเดบิต เวลาจ่ายแล้วก็จะมาหักเงินในบัญชีเราทันที
สิ่งแรกที่ทำให้หลายคนสับสน คือ “ฉันไม่เคยมีบัตรพวกนี้” ซึ่งก็ต้องบอกว่า เวลาเราไปเปิดบัญชีธนาคาร ถ้าเราได้บัตร ATM มาด้วย บัตรพวกนั้นส่วนใหญ่จะเป็นบัตรเดบิต และบัตรของเราอาจโดนผู้อื่นนำไปใช้ได้หลายทาง ดังนี้
1. เอาบัตรไปให้พนักงานรูดแล้วพนักงานจดข้อมูลบัตรไว้ เอาไปใช้เองภายหลัง
2. โดนหลอกให้คลิกลิงก์ SMS หรืออีเมลปลอม แล้วให้กรอกข้อมูลส่วนตัว
3. เอาข้อมูลบัตรไปใส่ในร้านค้าออนไลน์ (ผูกบัตร) แล้วร้านค้าถูกเจาะระบบ ข้อมูลรั่ว ถูกเอาข้อมูลบัตรเหล่านี้ออกไป หรือร้านค้าทุจริตโดยการนำข้อมูลบัตรเหล่านี้ไปขาย
4. ฐานข้อมูลของธนาคารถูกเจาะ
วิธีการที่พบได้บ่อยคือ ข้อ 1 ถึง 3 ซึ่งพอผู้เสียหายร้องเรียน ธนาคารก็ไปจัดการตรวจสอบและคืนเงินให้ ส่วนข้อ 4 สมาคมธนาคารไทยได้ออกมายืนยันแล้วว่าไม่มี แล้วที่เป็นข่าวในช่วงที่ผ่านมานั้นเกิดอะไรขึ้น? จริง ๆ แล้วมิจฉาชีพมีอีกวิธี คือการทำ BIN attack
2. BIN attack ก็คือการที่มิจฉาชีพใช้โปรแกรมสุ่มเลขบัตรไปเรื่อย ๆ แล้วลองกดซื้อของดู ถ้าไม่ได้ก็ลองเลขใหม่ ถ้าได้ก็เก็บข้อมูลบัตรนั้นไว้ เพราะสามารถเอาไปใช้ได้อีกหลายรอบจนกว่าเจ้าของหรือสถาบันการเงินจะรู้ตัว หลายธนาคารมีการป้องกัน BIN attack คือเมื่อพบรายการชำระเงินที่ถูกปฏิเสธหลายครั้งติดต่อกันจากร้านค้า (เพราะมิจฉาชีพสุ่มเลขแล้วผิด) ระบบเตือนจะทำงาน และอาจจะหยุดการให้บริการร้านค้านั้นชั่วคราวเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม โดยสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการแต่ละรายสามารถปรับการตั้งค่าได้ เช่น ตั้งค่าจำนวนการกรอกข้อมูลของบัตรผิด หากเกินกี่ครั้งต่อนาทีจะหยุดให้บริการร้านค้านั้นชั่วคราว หรือถ้ามีการใช้บัตรซ้ำ ๆ ถี่ ๆ เกินกี่ครั้ง จะระงับการใช้บัตรนั้นไปก่อน หลังจากเกิดเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมา สถาบันการเงินบางแห่งที่ยังตั้งค่าไว้ไม่เข้มงวดพอก็ได้ปรับการตั้งค่าต่าง ๆ ข้างต้นให้มีความเข้มงวดมากขึ้น และเพิ่มการแจ้งเตือนลูกค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ หากพบธุรกรรมผิดปกติ
3. แอปกู้เงินปลอม : การกู้เงินในยุคปัจจุบันทำได้ง่ายและรวดเร็วผ่านสมาร์ทโฟนโดยไม่ต้องออกจากบ้านให้ยุ่งยาก แต่สิ่งที่ยากสำหรับผู้กู้คือ จะรู้ได้อย่างไรว่าใครคือผู้ให้กู้ที่ไม่คิดดอกเบี้ยหรือทวงถามหนี้โหด หรือไม่ใช่มิจฉาชีพที่จะมาหลอกเอาเงินเราไป ยิ่งหากได้รับ SMS หรือมีคนโทรศัพท์ หรือแอดไลน์มาแล้วอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือหน่วยงานภาครัฐ หรือบริษัทที่จะให้เงินกู้หรือให้เงินช่วยเหลือ อย่ารีบกดลิงก์หรือกรอกข้อมูลเด็ดขาด ควรเช็กให้แน่ใจก่อน จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบหรือหลอกลวง
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จากธนาคารแห่งประเทศไทย
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
ก่อนที่จะเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ไหนก็ตาม แอดเหยี่ยวอยากให้ศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง ถือว่าแอดเตือนแล้วนะ!!! ที่สำคัญอย่าลืมมาตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี !
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
เมื่อเทศกาลตรุษจีนใกล้เข้ามา WikiFX ขอส่งความปรารถนาดีอย่างจริงใจถึงคุณ ด้วยการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากคุณในเส้นทางการลงทุน WikiFX มุ่งมั่นที่จะสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลฟอเร็กซ์ที่ปลอดภัย โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
อาการทนแดงและไม่ทนฟ้าเกิดจาก “ความโลภ” และ “ความกลัว” ซึ่งเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องเผชิญ การแก้ไขปัญหานี้ต้องอาศัยวินัย ความรู้ และการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง หากคุณสามารถวางแผนการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ จัดการความเสี่ยงได้ดี และควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ คุณจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ให้เป็นโอกาสในการทำกำไรในตลาด Forex ได้อย่างยั่งยืน
การเปิดตัวเหรียญมีมของทรัมป์สร้างความขัดแย้งครั้งสำคัญในวงการคริปโทฯ ในขณะที่อุตสาหกรรมเพิ่งประสบความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์จากการอนุมัติ Bitcoin ETF และการพัฒนากรอบกฎหมายที่ชัดเจนในหลายประเทศ การที่ทรัมป์ ผู้ที่ถูกคาดหวังให้เป็นผู้สนับสนุนหลัก กลับเลือกที่จะเปิดตัวเหรียญที่เน้นการเก็งกำไรระยะสั้น ได้สั่นคลอนความน่าเชื่อถือที่วงการพยายามสร้างมาอย่างยาวนาน
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
EC Markets
FP Markets
OANDA
FXTM
IB
ATFX
EC Markets
FP Markets
OANDA
FXTM
IB
ATFX
EC Markets
FP Markets
OANDA
FXTM
IB
ATFX
EC Markets
FP Markets
OANDA
FXTM
IB
ATFX