简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้
ระวังตลาดผันผวนหนักช่วง “Super Thursday” จากการประชุมเฟด, ECB, BOJ และ การโหวตเลือกนายกฯ ของไทย
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้น ตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยช่วงตลาดผันผวน และแรงเทขายสกุลเงินหลักอื่นๆ โดยเฉพาะ JPY และ GBP
• เตรียมรับมือความผันผวนในช่วงวันพฤหัสฯ ที่จะมีทั้ง การประชุมเฟด และ ECB รวมถึง การเลือกนายกฯ ของไทย ทั้งนี้ ตลอดสัปดาห์ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน
• เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้
กรณีที่ 1 : เฟดส่งสัญญาณชัดเจนพร้อมขึ้นดอกเบี้ยต่อ แต่ทั้ง ECB และ BOJ กลับไม่ได้ส่งสัญญาณพร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยหรือใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น
กรณีที่ 2 : ตลาดปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ในกรณีที่ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนออกมาน่าผิดหวัง ซึ่งต้องระวังรายงานจากบรรดาบริษัทเทคฯ ใหญ่
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่การประชุม FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด โดยเรามองว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย +25bps สู่ระดับ 5.25-5.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาอย่างใกล้ชิดว่า เฟดจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่าพร้อมขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง หรือ รอประเมินสถานการณ์ไปก่อน อนึ่ง เราคงมุมมองเดิมว่า การขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกรกฎาคมนี้ จะเป็น “ครั้งสุดท้าย” ของวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ หลังแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงมากขึ้น (อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE เดือนมิถุนายน ที่จะรายงานในวันศุกร์นี้ ก็อาจชะลอลงสู่ระดับ 4.2%) อย่างไรก็ตาม ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังพอได้แรงหนุนจากรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Conference Board Consumer Confidence) เดือนกรกฎาคม ที่อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 112 จุด หนุนโดยแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลงต่อเนื่องและตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะบริษัทเทคฯ ขนาดใหญ่ อาทิ Microsoft, Alphabet, Meta เป็นต้น
2. ฝั่งยุโรป – สำหรับการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) เรามองว่า ECB จะเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Deposit Facility Rate) +25bps สู่ระดับ 3.75% ทั้งนี้ ตลาดจะรอลุ้นว่า ECB จะส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่า พร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องหรือไม่ในการประชุมครั้งถัดไป หลังอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงมาก แม้ว่าจะชะลอลงต่อเนื่องก็ตาม โดยเรามองว่า หนึ่งในปัจจัยที่บรรดาเจ้าหน้าที่ ECB อาจใช้พิจารณาถึงความจำเป็นในการขึ้นดอกเบี้ยต่อ คือ รายงานภาวะสินเชื่อ (Bank Lending Survey) ในไตรมาส 2 และรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของยูโรโซนในเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะสะท้อนผลกระทบจากการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของ ECB ในช่วงที่ผ่านมา
3. ฝั่งเอเชีย – ตลาดมองว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจเริ่มชะลอลงบ้างหลังจากที่ภาคการบริการได้ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากอานิสงส์การเปิดประเทศ โดยล่าสุดดัชนี PMI ภาคการบริการเดือนกรกฎาคมอาจชะลอลงสู่ระดับ 53 จุด ส่วนดัชนี PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาจอยู่ที่ระดับ 49.8 จุด สะท้อนว่าภาคการผลิตอาจหดตัวต่อเนื่องตามแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจหลัก ทั้งนี้ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) โดยเราคาดว่า BOJ อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.10% แต่เราจะรอจับตาอย่างใกล้ชิดว่า BOJ จะปรับนโยบาย Yields Curve Control หรือไม่ (เราคาดว่า BOJ จะยังไม่มีการปรับนโยบาย YCC ในครั้งนี้) โดยหาก BOJ ไม่ได้ส่งสัญญาณพร้อมปรับ YCC ก็อาจส่งผลให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) อ่อนค่าต่อได้บ้าง นอกจากนี้ ควรรอติดตาม คาดการณ์เศรษฐกิจใหม่ของ BOJ ที่อาจส่งสัญญาณต่อแนวโน้มการปรับนโยบายการเงินของ BOJ ในอนาคต
4. ฝั่งไทย – ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทย อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากนัก และนักลงทุนต่างชาติบางส่วนอาจทยอยขายทำกำไรได้บ้าง อย่างไรก็ดี นักลงทุนต่างชาติก็พร้อมกลับเข้ามาซื้อสินทรัพย์ไทยมากขึ้น หากการโหวตเลือกนายกฯ และการจัดตั้งรัฐบาลผสมมีความชัดเจนมากขึ้น
ราคาทองคำเคลื่อนไหวผันผวน โดยมีทั้งจังหวะปรับตัวขึ้นทดสอบโซนแนวต้าน ตามการย่อลงของบอนด์ยีลด์ระยะยาว ก่อนที่จะพลิกกลับมาย่อตัวลง ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และการรีบาวด์ขึ้นของบอนด์ยีลด์ระยะยาวในช่วงปลายสัปดาห์
สัปดาห์นี้ ทั้งผลการประชุมธนาคารกลางหลักและรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงิน เงินดอลลาร์ บอนด์ยีลด์ระยะยาวและราคาทองคำได้อย่างมีนัยสำคัญ
ประเมินว่า ราคาทองคำอาจผันผวนในกรอบกว้าง แต่มีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นทดสอบ/ทะลุโซนแนวต้านได้ หากเฟด รวมถึงธนาคารกลางหลักอื่นๆ ไม่ได้ส่งสัญญาณพร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยที่ชัดเจน แต่ในกรณีดังกล่าว การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำอาจถูกจำกัดด้วยภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินได้
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
รวมรีวิวโบรกเกอร์ประจำสัปดาห์
ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 28-29 ม.ค. นี้ ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกของปี 2568 รวมทั้งจับตาถ้อยแถลงของเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด โดยคาดว่าการแสดงความเห็นของพาวเวลอาจจะบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ
เมื่อเทศกาลตรุษจีนใกล้เข้ามา WikiFX ขอส่งความปรารถนาดีอย่างจริงใจถึงคุณ ด้วยการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากคุณในเส้นทางการลงทุน WikiFX มุ่งมั่นที่จะสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลฟอเร็กซ์ที่ปลอดภัย โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
XM
STARTRADER
Vantage
IC Markets Global
IB
OANDA
XM
STARTRADER
Vantage
IC Markets Global
IB
OANDA
XM
STARTRADER
Vantage
IC Markets Global
IB
OANDA
XM
STARTRADER
Vantage
IC Markets Global
IB
OANDA