简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้
ควรจับตา การประชุมบรรดาธนาคารกลางหลัก (เฟด BOE และ BOJ) รวมถึง รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ และจีน พร้อมติดตามรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน และสถานการณ์สงคราม
วันอังคารที่ 31 ต.ค. 2023
•19.30 น. : ดัชนีค่าจ้างแรงงานสหรัฐฯ (Employment Cost Index q/q)
ตัวเลขครั้งก่อน 1.0% ตัวเลขคาดการณ์ 1.0%
•21.00 น. : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ (CB Consumer Confidence)
ตัวเลขครั้งก่อน 103.0 ตัวเลขคาดการณ์ 100.1
วันพุธที่ 1 พ.ย. 2023
•19.15 น. : ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ โดย ADP (ADP Non-Farm Employment Change)
ตัวเลขครั้งก่อน 89K ตัวเลขคาดการณ์ 141K
•21.00 น. : ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM Manufacturing PMI)
ตัวเลขครั้งก่อน 49.0 ตัวเลขคาดการณ์ 49.0
•21.00 น. : ตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่สหรัฐฯ (JOLTS Job Openings)
ตัวเลขครั้งก่อน 9.61M ตัวเลขคาดการณ์ 9.27M
วันพฤหัสบดีที่ 2 พ.ย. 2023
• 01.00 น. : อัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Funds Rate)
ตัวเลขครั้งก่อน 5.50% ตัวเลขคาดการณ์ 5.50%
•19.30 น. : จำนวนผู้ขอรับสวัสดีการว่างงานสหรัฐฯ (Unemployment Claims)
ตัวเลขครั้งก่อน 210K ตัวเลขคาดการณ์ 210K
วันศุกร์ที่ 3 พ.ย. 2023
•19.30 น. : ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ (Non-Farm Employment Change)
ตัวเลขครั้งก่อน 336K ตัวเลขคาดการณ์ 182K
•19.30น. : อัตราการว่างงานสหรัฐฯ (Unemployment Rate)
ตัวเลขครั้งก่อน 3.8% ตัวเลขคาดการณ์ 3.8%
•21.00 น. : ดัชนี PMI ภาคการบริการสหรัฐฯ (ISM Services PMI)
ตัวเลขครั้งก่อน 53.6 ตัวเลขคาดการณ์ 53.2
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น ตามการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ แม้ว่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาดีกว่าคาดก็ตาม
ควรจับตา การประชุมบรรดาธนาคารกลางหลัก (เฟด BOE และ BOJ) รวมถึง รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ และจีน พร้อมติดตามรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน และสถานการณ์สงคราม
สถานการณ์สงครามที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น อาจหนุนการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ เงินดอลลาร์ ทองคำ และพันธบัตรรัฐบาล นอกจากนี้ เงินดอลลาร์อาจผันผวนไปตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มนโยบายการเงินเฟด โดยเงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้น หากภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งกว่าคาดและเฟดยังย้ำจุดยืนพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดได้นาน
1. ฝั่งสหรัฐฯ – จากการประเมินถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งต่างกังวลต่อแนวโน้มภาวะการเงิน (Financial Conditions) ที่ตึงตัวมากขึ้น ตามการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ รวมถึงมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่คาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ (โอกาส 97% จาก CME FedWatch Tool) และสถานการณ์สงครามที่ยังมีความไม่แน่นอนและเสี่ยงที่จะบานปลายมากขึ้น ทำให้ เรามองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินเฟด (FOMC) จะมีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% อย่างไรก็ดี เราจะจับตาการส่งสัญญาณต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและทิศทางนโยบายการเงินของเฟด ผ่านถ้อยแถลงของประธานเฟดในช่วงหลังรับรู้ผลการประชุม และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดท่านอื่นๆ ในสัปดาห์นี้ เนื่องจากผู้เล่นในตลาดยังคงให้โอกาสราว 30% ที่เฟดจะสามารถเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้ในช่วงต้นปีหน้า และผู้เล่นในตลาดยังคงมองว่า เฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน (Higher for Longer) ทั้งนี้ เราคาดว่า มุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อทิศทางนโยบายการเงินของเฟด อาจขึ้นกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (ISM Manufacturing and Services PMIs) เดือนตุลาคม และรายงานข้อมูลตลาดแรงงาน อย่าง ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) โดยหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดและสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ยังคงแข็งแกร่ง ก็อาจยิ่งทำให้ ผู้เล่นในตลาดกังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและแนวโน้มเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงมากขึ้น ทั้งนี้ ควรระวังการตีความข้อมูลการจ้างงาน โดยรายงานยอดการจ้างงานอาจไม่สามารถสะท้อนภาวะการจ้างงานได้ดีนัก หลังการประท้วงหยุดงานของกลุ่มสหภาพยานยนต์ (UAW) เริ่มคลี่คลายลง ทำให้อาจมียอดการจ้างงานจากกลุ่มยานยนต์เพิ่มขึ้นหลายหมื่นราย และนอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว เรามองว่า ควรจับตารายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้
2. ฝั่งยุโรป – เรามองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจอังกฤษและอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลงชัดเจนในช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เลือกที่จะ “คง” อัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25% ทั้งนี้ ควรจับตาการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและทิศทางนโยบายการเงินจากผู้ว่าฯ BOE อย่างใกล้ชิด โดยถ้อยแถลงดังกล่าวก็อาจส่งผลกระทบต่อทิศทางของเงินปอนด์อังกฤษได้ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของยูโรโซน อย่าง อัตราการเติบโตเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 และอัตราเงินเฟ้อ CPI โดยเรามองว่า หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ยังคงสะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจยูโรโซนที่ไม่สดใสนัก และจากแนวโน้มการชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อยูโรโซน ทำให้เรามั่นใจว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วที่ระดับ 4.00% (Deposit Facility Rate) ทั้งนี้ ภาพดังกล่าวก็อาจเป็นปัจจัยกดดันเงินยูโร ทำให้เงินยูโรมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าลง ทว่าสำหรับเงินยูโร อาจต้องจับตาทิศทางตลาดหุ้นยุโรปอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่จะมีการรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน
3. ฝั่งเอเชีย – เราประเมินว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะตัดสินใจ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ -0.10% และจะยังไม่เปลี่ยนแปลงนโยบาย Yield Curve Control อย่างไรก็ดี เราจะจับตาว่า BOJ จะมีการส่งสัญญาณพร้อมทยอยปรับนโยบายการเงินหรือไม่ หลังอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมาย 2% พอสมควรมาเป็นเวลานาน ขณะเดียวกันเงินเยนญี่ปุ่นก็อ่อนค่าลงใกล้ระดับ 150 เยนต่อดอลลาร์ ส่วนทางฝั่งธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) เราก็มองว่า จากแนวโน้มการชะลอตัวลงของทั้งภาพรวมเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ อาจทำให้ BNM “คง” อัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 3.00% เช่นกัน นอกจากนี้ ตลาดจะรอลุ้นรายงานดัชนี PMI ของจีน ในเดือนตุลาคม โดยหากรายงานดัชนี PMI ของจีนสะท้อนภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ก็อาจช่วยหนุนให้ผู้เล่นในตลาดเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์จีน ซึ่งจะส่งผลให้เงินหยวนจีนและสกุลเงินฝั่งเอเชียทยอยแข็งค่าขึ้นได้
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
แม้ว่า MBTI จะไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการลงทุนโดยตรง แต่การเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสามารถช่วยให้เลือกกลยุทธ์และรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับนิสัยและความต้องการของเราได้
ทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืดต่างก็มีผลกระทบที่แตกต่างกันในมุมมองนักเทรด แต่สิ่งสำคัญคือการเข้าใจสภาพตลาดและปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม ถ้าเงินเฟ้อมาสูง เราต้องมองหาสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าได้ แต่ถ้าเงินฝืดมาแรง การถือเงินสดหรือสินทรัพย์ปลอดภัยอาจเป็นทางรอด หมั่นติดตามข่าวเศรษฐกิจและปรับกลยุทธ์ให้ทัน เกมเศรษฐกิจแบบนี้ ถ้ารู้ทัน เราก็ชนะ!
บทวิเคราะห์อทองคำ
หลังทรัมป์รับตำแหน่งตลาดการเงินเป็นอย่างไรบ้าง บล.เอเซียพลัส ชี้ความกังวลที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น หนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยง มองถ้าสหรัฐอเมริกาไม่ดุดัน ตลาดหุ้นไทยจะค่อย ๆ ดีขึ้น
Neex
STARTRADER
OANDA
AvaTrade
FXTM
XM
Neex
STARTRADER
OANDA
AvaTrade
FXTM
XM
Neex
STARTRADER
OANDA
AvaTrade
FXTM
XM
Neex
STARTRADER
OANDA
AvaTrade
FXTM
XM