简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ถูกกล่าวหาว่าจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐด้วยเหรียญ USDT เอกภพ เหลืองประเสริฐ ผู้ก่อตั้งเพจ ‘สายไหมต้องรอด’ ตั้งข้อสังเกตว่า การที่ผู้ต้องหาใช้ USDT เพราะต้องการทำให้การติดตามธุรกรรมทำได้ยากขึ้น USDT มีความเป็นส่วนตัวระดับหนึ่ง แต่ธุรกรรมทั้งหมดถูกบันทึกไว้บนบล็อกเชนและทำให้สามารถติดตามได้ โดยเฉพาะเมื่อผู้ใช้ต้องการนำไปแลกเงินผ่านระบบการเงินที่มีการยืนยันตัวตน (KYC) บริษัท Tether ผู้ออกเหรียญ USDT มีความพยายามร่วมมือกับหน่วยงานรัฐมากขึ้นในการปราบปรามการฟอกเงิน
หากพูดถึงคดีอื้อฉาวแห่งเดือนตุลาคมปีนี้ คงจะไม่มีชื่อไหนที่เป็นกระแสทั่วประเทศไปมากกว่า ‘ดิไอคอนกรุ๊ป’ (The iCon Group) แล้ว เนื่องจากเป็นเคสที่มีบุคคลดังระดับประเทศเกี่ยวพันในฐานะผู้ต้องหาการฉ้อโกงครั้งนี้ผ่านการเชิญชวนสมาชิกใหม่ให้มาเข้าร่วมเพื่อนำสินค้าไปขายต่อ แต่ผู้เข้าร่วมหลายรายกลับขายสินค้าไม่ได้จนนำมาสู่ความเสียหายในวงกว้าง
นอกเหนือจากรูปแบบธุรกิจที่ไม่ชอบมาพากล อีกหนึ่งประเด็นที่ผุดขึ้นมาในคดีนี้คือการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือฟอกเงิน
เอกภพ เหลืองประเสริฐ ผู้ก่อตั้งเพจ ‘สายไหมต้องรอด’ ออกมาเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด จ่ายสินบนมูลค่ามหาศาลให้กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐด้วยเหรียญ USDT ซึ่งเป็นคริปโตเคอร์เรนซีประเภท Stablecoin ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด และมีมูลค่าสอดคล้องกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
โดยจุดประสงค์ของการใช้เหรียญ USDT ทำธุรกรรมก็เพื่อปกปิดร่องรอยธุรกรรม และทำให้การสาวกลับมาหาตัวต้นทางทำได้ยากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ถ้ามองจากมุมของผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมคริปโต เหรียญ USDT เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมกับการฟอกเงินจริงหรือ ในเมื่อธุรกรรมทุกรายการถูกบันทึกไว้บนบล็อกเชน แล้วการตามตัวมันยากเหมือนที่หลายคนคิดหรือเปล่า?
THE STANDARD WEALTH จะขอพาย้อนกลับไปดูกรณีที่ Tether เคยถูกกล่าวหาว่าเป็นเครื่องมือ ‘ฟอกเงิน’ พร้อมทั้งถอดมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในวงการคริปโตว่า เหรียญดังกล่าวเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับใช้ฟอกเงินมากน้อยแค่ไหน
ขอบคุณรูปจาก bangkokbiznews
ย้อนรอยคำกล่าวหา USDT ในฐานะเหรียญฟอกเงิน
เมื่อช่วงต้นปี 2024 องค์การสหประชาชาติ (UN) ตีพิมพ์รายงานที่มีส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่พาดพิงบริษัท Tether ผู้ออกเหรียญ USDT ว่ากำลังเป็นเครื่องมือที่มิจฉาชีพนิยมใช้กันมากขึ้น โดยส่วนหนึ่งของเนื้อหารายงานมีใจความดังนี้
“USDT กลายเป็นตัวเลือกที่นิยมสำหรับการฟอกเงินในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากราคามีความเสถียร ใช้งานง่าย ไม่เปิดเผยตัวตน และค่าธรรมเนียมต่ำ โดยหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและหน่วยข่าวกรองทางการเงินในภูมิภาครายงานว่า USDT เป็นหนึ่งในสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มอาชญากรรมฉ้อโกงทางไซเบอร์ ซึ่งเราพบได้จากจำนวนคดีและจำนวนแพลตฟอร์มพนันออนไลน์กับศูนย์ซื้อขายคริปโตที่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งล้วนแล้วแต่ให้บริการ ‘ธุรกิจใต้ดิน’ บนพื้นฐานของสกุลเงิน USDT”
อย่างไรก็ตาม ในเวลาเพียงไม่กี่วันหลังจากรายงานฉบับดังกล่าวจาก UN เผยแพร่สู่สาธารณะ บริษัท Tether ก็ออกมาตอบโต้ข้อกล่าวหา โดยระบุถึงความลำเอียงของรายงานที่เลือกโฟกัสเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวกับการใช้งานโดยมิจฉาชีพ และเพิกเฉยต่อประโยชน์ที่ USDT มีให้กับประเทศที่กำลังพัฒนา
พร้อมกันนี้ Tether ระบุเพิ่มเติมถึงความสามารถในการติดตามธุรกรรมที่บริษัทร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น FBI, DOJ หรือ USSS ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งให้ศักยภาพที่เหนือกว่า ‘ระบบธนาคารดั้งเดิม’ ที่ Tether อ้างว่า “เป็นแหล่งฟอกเงินจำนวนมหาศาลมาตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา จากหลักฐานค่าปรับที่เหล่าธนาคารถูกเรียกเก็บ”
นอกจากนี้ Tether ยังแนะนำให้ UN ศึกษาการทำงานของบล็อกเชนให้เข้าใจก่อน โดยชี้ว่า “เหรียญที่ออกโดย Tether ใช้ระบบบล็อกเชนสาธารณะ (Public Blockchain) ซึ่งหมายความว่าเราสามารถติดตามธุรกรรมทุกรายการได้อย่างละเอียด ทำให้มันเป็นตัวเลือกที่ไม่เหมาะมากนักในการนำไปใช้ก่ออาชญากรรม” เมื่อธุรกรรมทุกรายการสามารถติดตามได้อย่างละเอียด ทำไมมิจฉาชีพบางคนถึงยังเลือกใช้?
เหรียญ USDT ช่องทางการส่งเงินที่อาจตามได้ยาก แต่ไม่ใช่ตามไม่ได้
ด้วยระบบที่เปิดกว้างและโปร่งใสของ USDT ผู้ใช้งานหรือใครก็ตามสามารถเข้ามาตรวจสอบประวัติธุรกรรมได้ แต่หนึ่งในข้อจำกัดของการติดตามที่ ศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ Managing Director Trustender, Founder Thai Bitcast และกรรมการสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย มองว่ายังมีอยู่ คือเรื่องของความเข้าใจในระบบ
“ในปัจจุบันความรู้และความเข้าใจยังอยู่ในวงแคบ ดังนั้นการจะมีผู้รู้ที่สามารถเข้ามาตรวจสอบยังเป็นเรื่องที่ท้าทาย ซึ่งถ้าเทียบกับระบบธนาคารปัจจุบัน การโอนเงินจำนวนมากจำเป็นจะต้องมีการรายงานจากธนาคาร แต่ถ้าเป็นเหรียญอย่าง USDT การรายงานจากตัวกลางทางการเงินอาจไม่เกิดขึ้น โดยเฉพาะถ้าเป็นการโอนบนบล็อกเชนระหว่างผู้รับและผู้ส่งโดยตรง” ศุภกฤษฎ์กล่าวกับ THE STANDARD WEALTH
คุณศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ กรรมการสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย CEO and Founder Thai Bitcast ขอบคุณรูปจาก thaidigitalasset
อย่างไรก็ดี ศูนย์ซื้อขายที่ได้รับการอนุมัติตามกฎหมายจะมีระบบการยืนยันตัวตนของผู้ใช้งาน (KYC) ทำให้การระบุตัวตนที่เชื่อมโยงกับกระเป๋าเงินดิจิทัลของบุคคลนั้นๆ ทำได้ไม่ยาก
ส่วนกระเป๋าเงินดิจิทัลที่อยู่นอกเหนือศูนย์ซื้อขายและไม่ได้รับการยืนยันตัวตน จะทำให้การตามตัวยิ่งท้าทายมากขึ้น แต่ยังคงทำได้อยู่ เพราะในที่สุดแล้วขอบเขตการใช้งานคริปโตอย่าง USDT ในฐานะ ‘สื่อกลางการแลกเปลี่ยน’ ยังอยู่ในวงจำกัด ทำให้เหรียญต้องถูกแปลงออกมาเป็นสกุลเงินท้องถิ่นเพื่อใช้จ่าย ซึ่งเป็นจุดที่หน่วยงานรัฐสามารถย้อนกลับไปดูประวัติเพื่อตามตัวได้
หนึ่งในตัวอย่างของการตามแกะรอยเส้นทางธุรกรรม USDT ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อช่วงตลาดกระทิงปี 2021 คือกรณีการโจรกรรมไซเบอร์ด้วยการปล่อยมัลแวร์เพื่อแลกกับค่าไถ่เป็นสกุลเงินคริปโตจากเหยื่อ แต่เนื่องจากบล็อกเชนมีความโปร่งใส ทำให้เมื่อมีการโอนเงินเข้าไปสู่กระเป๋าใดกระเป๋าหนึ่งในลักษณะที่ผิดปกติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถจับตาดูกระเป๋าเงินนั้นและสาวหาต้นตอ เมื่อมีการเปลี่ยนจากคริปโตออกมาเป็นสกุลเงินท้องถิ่นของแต่ละประเทศผ่านระบบธนาคาร
แม้ว่า USDT จะไม่ใช่เหรียญที่ให้ความเป็นส่วนตัวอย่างแท้จริงกับมิจฉาชีพเพื่อใช้สำหรับฟอกเงิน แต่ความสะดวกรวดเร็ว สภาพคล่องสูง และต้นทุนการตามตัวที่มากกว่าระบบการเงินทั่วไป ทำให้มิจฉาชีพบางรายยังเลือกที่จะใช้ USDT
ในฟากของ พิริยะ สัมพันธารักษ์ ผู้ก่อตั้ง Right Shift แสดงความเห็นที่คล้ายกันในเรื่องนี้ว่า USDT ไม่ใช่เครื่องมือฟอกเงินที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเมื่อบริษัทผู้ออกเหรียญอย่าง Tether ร่วมมือกับหน่วยงานของประเทศต่างๆ ในการพยายามปราบปรามการฟอกเงิน ทำให้บริษัทมีสิทธิที่จะอายัดสินทรัพย์ในกระเป๋าที่ถูกตั้งข้อสงสัยให้ใช้งานไม่ได้
คดีอื้อฉาวของ ‘ดิไอคอนกรุ๊ป’ เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการใช้คริปโตในทางที่ผิด แต่ความผิดอาจไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยีอย่างเหรียญ USDT แต่เป็นที่ตัวของบุคคลที่ต้องการหาผลประโยชน์จากสิ่งใหม่ที่หลายภาคส่วนในสังคมยังไม่เข้าใจ ผนวกกับความเร็ว ความสะดวก และสภาพคล่องที่ USDT มีให้ แม้ว่ามันจะไม่สมบูรณ์แบบ
ดังนั้นตราบใดที่ยังมีผู้แสวงหาประโยชน์จากระบบการเงิน คนกลุ่มนี้ก็จะสำรวจและปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นของหน่วยงานกำกับดูแลในการเตรียมแผนรับมือที่ต้นตอของปัญหา นั่นคือ ‘อาชญากร’ แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่การควบคุมเทคโนโลยี
ขอบคุณข้อมูลจาก THE STANDARD WEALTH
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
XM
TMGM
EC Markets
Doo Prime
FXTM
FBS
XM
TMGM
EC Markets
Doo Prime
FXTM
FBS
XM
TMGM
EC Markets
Doo Prime
FXTM
FBS
XM
TMGM
EC Markets
Doo Prime
FXTM
FBS