简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ก.ล.ต. ปรับปรุงเกณฑ์รองรับ leveraged และ inverse ETFs มีผลตั้งแต่ 16 มี.ค.68
ก.ล.ต. ออกประกาศปรับปรุงหลักเกณฑ์รองรับ leveraged และ inverse ETFs เพื่อให้ผู้ลงทุนมีทางเลือกผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย สามารถรองรับมุมมองและบริหารจัดการโอกาสและความเสี่ยงในการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้ตลาดทุนไทยมีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2568
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีแนวคิดในการปรับปรุงเกณฑ์รองรับกองทุนรวมอีทีเอฟ (Exchange Traded Fund หรือ ETF) ที่มีกลยุทธ์การบริหารจัดการที่มุ่งหวังผลตอบแทนทวีคูณจากผลตอบแทนรายวันของดัชนีอ้างอิง และกลยุทธ์การบริหารจัดการที่มุ่งหวังผลตอบแทนตรงกันข้ามกับผลตอบแทนรายวันของดัชนีอ้างอิง (leveraged และ inverse ETFs หรือ L&I ETFs) โดยได้เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักการและร่างประกาศเมื่อเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2567 ซึ่งผู้แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วยกับหลักการและร่างประกาศดังกล่าว
ก.ล.ต. จึงออกประกาศเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6 ฉบับ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2568 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
(1) L&I ETFs มีอัตราทวีคูณได้ไม่เกิน 2 เท่าและอัตราทวีคูณต้องเป็นจำนวนเต็ม ไม่เป็นทศนิยม เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ลงทุนไทยยังไม่คุ้นเคย
(2) บริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) ที่ออก ETF ต้องเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ลงทุนทราบถึงลักษณะและความเสี่ยงของ L&I ETFs เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน เช่น กำหนดชื่อที่สื่อถึงกลยุทธ์การลงทุน เปิดเผยวิธีการลงทุน เครื่องมือที่ใช้ ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง ความเสี่ยงและคำเตือน รวมทั้งมีเครื่องมือที่ผู้ลงทุนสามารถเลือกช่วงเวลาในอดีตเพื่อดูผลตอบแทน ผลกำไรหรือขาดทุนสูงสุดของ L&I ETFs (performance simulator) เป็นต้น
(3) ผู้ประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต้องดำเนินการเพิ่มเติม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ลงทุนมีความรู้และตระหนักถึงความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน มีกระบวนการติดตามดูแลการลงทุนของผู้ลงทุน รวมถึงมีกระบวนการที่ทำให้มั่นใจได้ว่า ผู้ขายมีความรู้ความเข้าใจใน L&I ETFs ก่อนให้บริการ
ทั้งนี้ การปรับปรุงหลักเกณฑ์รองรับ L&I ETFs ข้างต้น ทำให้สามารถนำ L&I ETFs ต่างประเทศที่มีลักษณะตามที่กำหนดมาเป็นหลักทรัพย์อ้างอิงการออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (Depositary Receipt: DR) ได้ด้วย โดยผู้ออก DR ต้องเปิดเผยข้อมูลในลักษณะเดียวกับ บลจ. ที่ออก ETF และผู้ประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ต้องดำเนินการเช่นเดียวกับการให้บริการ L&I ETFs
สำหรับกองทุนรวมทั่วไปที่มีการลงทุนใน L&I ETFs เพื่อการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุน ต้องระบุในโครงการให้ชัดเจน และกองทุนรวมที่จัดตั้งก่อนวันที่ประกาศมีผลใช้บังคับและมีการลงทุนใน L&I ETFs ให้ดำเนินการแก้ไขโครงการให้เป็นไปตามประกาศใหม่ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ประกาศใหม่มีผลใช้บังคับ
ขอบคุณ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
แม้ทรัมป์เคยลั่นว่าจะดันสหรัฐฯ เป็นประเทศมิตรกับคริปโทที่สุดในโลก แต่หลังรับตำแหน่งจริงกลับไร้นโยบายชัดเจน ขณะเดียวกัน พอร์ตคริปโทรัฐบาลสหรัฐฯ หายไปร่วม 26% ใน 3 เดือนหลังเข้ารับตำแหน่ง แถมนโยบาย "ภาษีวันปลดปล่อย" ยังซัดตลาดคริปโทร่วงยับกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์!
ราคาของ Bitcoin ร่วงลงกว่า 2.19% สู่ระดับ $83,259 หลังจากนโยบายภาษีตอบโต้ของทรัมป์มีผลบังคับใช้ ส่งผลกระทบต่อตลาดคริปโตและตลาดหุ้นทั่วโลก โดยไทยเองก็โดนผลกระทบจากภาษีนำเข้าสูงถึง 36% นอกจาก BTC แล้ว Altcoin ส่วนใหญ่ก็ดิ่งลงเช่นกัน มีเพียงไม่กี่โปรเจกต์ที่ยังคงต้านทานแรงกดดันจากตลาดได้
Scammer ในโลก Crypto มักใช้วิธีหลอกลวงต่าง ๆ เช่น การปลอมแปลง ICO, ใช้ Wallet ปลอม หรือการ Phishing เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ยังมีการปั่นราคาเหรียญและหลอกให้ลงทุนตามกระแส การใช้โบรกเกอร์เถื่อนก็เสี่ยงต่อการสูญเสียเหรียญ จึงควรระมัดระวังและตรวจสอบให้ดี.
ตัวตนของ “ซาโตชิ นากาโมโตะ” ผู้สร้าง Bitcoin ยังคงเป็นปริศนาที่โลกคริปโทไม่เคยไขกระจ่าง แม้เวลาจะผ่านไป Benjamin Wallace นักสืบและอดีตนักเขียน Newsweek ได้อุทิศเวลาถึง 15 ปี เพื่อตามหาผู้สร้าง Bitcoin โดยการวิเคราะห์หลักฐานที่ซาโตชิทิ้งไว้ รวมถึงตรวจสอบสมาชิกกลุ่ม Cypherpunks ที่น่าสงสัย เช่น James A. Donald อย่างไรก็ตาม แม้จะพบเบาะแสที่เชื่อมโยงได้มากมาย Donald กลับปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา Wallace ตระหนักในที่สุดว่า Bitcoin ได้เติบโตขึ้นจนอยู่เหนือผู้สร้าง และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบารมีของซาโตชิอีกต่อไป โดยซาโตชิอาจเป็นเพียงสัญลักษณ์แห่งอิสรภาพทางการเงินในศตวรรษที่ 21 มากกว่าจะเป็นตัวตนของใครคนหนึ่ง
Markets.com
Saxo
Pepperstone
EC Markets
Neex
GO MARKETS
Markets.com
Saxo
Pepperstone
EC Markets
Neex
GO MARKETS
Markets.com
Saxo
Pepperstone
EC Markets
Neex
GO MARKETS
Markets.com
Saxo
Pepperstone
EC Markets
Neex
GO MARKETS