简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ: 5 ข้อคิดสำคัญจากหนังสือของ Israa Nasir
Productivity คำที่หลายคนมักจะได้ยินเมื่อพูดถึงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไป เพราะ Israa Nasir ผู้เขียนหนังสือ Toxic Productivity: Reclaim Your Time and Emotional Energy in a World That Always Demands More ระบุว่า การให้ความสำคัญกับความขยันทำงานมากเกินไป อาจทำให้เราติดอยู่ในวังวนที่ยุ่งอยู่ตลอดเวลาและบั่นทอนความสมดุลชีวิตเราได้
แล้วเราควรจะสร้างวิถีการทำงานให้มีประสิทธิภาพอย่างไรโดยไม่ทำให้มันกลายเป็นความ Toxic ในชีวิต?
และนี่คือ 5 ข้อคิดสำคัญจากหนังสือของ Israa Nasir
1.เข้าใจความต่างระหว่างความขยันที่ ‘พอดี’ และ ‘เกินพอ’
หากมองผิวเผิน ความขยันอาจดูเหมือนกับการพุ่งชนเป้าหมาย แต่ความขยันที่พอดีและเกินพอดีต่างกันอย่างสิ้นเชิง ความขยันที่พอดีจะสอดคล้องกับคุณค่าในชีวิตเรา ทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความตั้งใจโดยไม่สูญเสียความเป็นตัวเอง
ในขณะที่ความขยันแบบเกินพอดีจะผลักให้เราต้องทำมากขึ้นจากความกลัว ความละอาย ความต้องการการยอมรับจากภายนอก หรือความพยายามที่จะพิสูจน์คุณค่าในตัวเอง แต่ไม่ใช่จากเป้าหมายของเรา
ผลกระทบระยะยาวของการทำงานเกินพอดีนั้นอันตราย โดยงานวิจัยต่างๆ ที่ Israa Nasir พบเจอชี้ว่า หากเราผูกคุณค่าตัวเองไว้กับประสิทธิภาพการทำงานเพียงอย่างเดียว ความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ก็จะเพิ่มสูงขึ้น เพราะเราพยายามจะสนองความคาดหวังที่เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นการตระหนักว่าเมื่อใดที่ ‘ประสิทธิภาพ’ กลายเป็นสิ่งที่ครอบงำเราแทนที่จะเป็นแรงผลักดัน เมื่อนั้นจะเป็นเวลาที่เราสามารถเปลี่ยนไปสู่วิธีการทำงานที่เติมเต็มชีวิตของเรามากขึ้น
.
2.ความขยันเกินตัวไม่ได้มาจากเหตุผล แต่เป็นอารมณ์
หลายคนมักคิดว่าการเลือกทำงานให้มีประสิทธิภาพคือกระบวนการตัดสินใจที่ใช้เหตุผลล้วนๆ แต่ความจริงแล้วอารมณ์ เช่น ความรู้สึกผิด ความกลัวการล้มเหลว และความต้องการการยอมรับ มีผลอย่างยิ่ง โดยบางครั้งเราเลือกใช้ความขยันเป็นวิธีจัดการกับความไม่สบายใจ เช่น ความรู้สึกผิดที่ทำไม่พอ (Productivity Guilt) ซึ่งมักจะนำไปสู่การทำงานหนักเกินไป งานวิจัยของสมาคมจิตวิทยาอเมริกันแสดงให้เห็นว่า คนที่ประสบปัญหานี้มักทำงานนานและพักผ่อนน้อย นำไปสู่ภาวะหมดไฟ
การเรียนรู้ที่จะจัดการอารมณ์นั้นสำคัญ ซึ่งรวมถึงการทำความเข้าใจ จัดการ และปลดปล่อยอารมณ์ที่อัดอั้นในใจ โดยตัวช่วยอาจเป็นการเขียนบันทึกหรือการตั้งเป้าหมายที่สมเหตุสมผล จะสามารถช่วยเราให้ทำงานด้วยความสมดุลแทนความกังวล ซึ่งจะทำให้เรามีสมาธิ ตัดสินใจได้ชัดเจน และมีแรงจูงใจที่ดีขึ้น
เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกถึงอารมณ์เชิงลบของตัวเอง ให้ถามคำถามว่า “เรากำลังทำงานด้วยความตั้งใจหรือเพราะความกลัว?” คำถามนี้คือกุญแจสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพที่ยั่งยืน
.
3.ความขยันแบบ Toxic อาจซ่อนอยู่ในนิสัยประจำวันของเรา
ความขยันเกินพอดีอาจไม่ใช่สิ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนเสมอไป แต่มักจะแฝงตัวอยู่ในนิสัยเล็กๆ น้อยๆ ของเรา เช่น การทำงานช่วงพักกลางวัน เช็กอีเมลตอนเที่ยงคืน หรือการติดโทรศัพท์เพราะกลัวพลาดสิ่งสำคัญ
แต่เราสามารถเปลี่ยนนิสัยความขยันที่เกินพอดีให้กลายเป็นพลังบวกได้ โดยแทนที่จะทำงานอย่างต่อเนื่อง ลองจัดตารางพัก เช่น การพักเดินสั้นๆ หรือการฝึกหายใจเพียงไม่กี่นาที เพราะงานวิจัยเผยว่า การพักสั้นๆ และสม่ำเสมอสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ถึง 40% เหมือนเป็นการพักให้สมองของเราได้เริ่มใหม่
.
4.ความเชื่อที่หลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับความขยัน
ความคาดหวังในสังคมปัจจุบันเกี่ยวกับคำว่า ‘ขยัน’ อาจทำให้เราติดอยู่กับวงจรเดิมๆ เช่น เราอาจเชื่อว่าการทำหลายอย่างพร้อมกันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ แต่งานวิจัยกลับพบว่าวิธีดังกล่าวอาจลดประสิทธิภาพลงถึง 40%
หรือความเชื่อที่ว่าการทำตัวยุ่งเท่ากับมีประสิทธิภาพ แต่นั่นไม่เป็นความจริง เพราะงานวิจัยชี้ว่า มีเพียง 20% ของงานเท่านั้นที่ให้ผลลัพธ์ 80% ความเชื่อเหล่านี้อาจทำให้เรารับงานเกินตัวจนรู้สึกยุ่งอยู่ตลอดเวลาและไม่มีความสุข
การทำงานให้ฉลาด ไม่ใช่ทำงานให้หนัก หมายถึงการให้เวลาตัวเองโฟกัสกับสิ่งที่สำคัญจริงๆ และทิ้งสิ่งที่ไม่จำเป็น โดยไม่ต้องยึดติดกับนิยามความสำเร็จที่คนอื่นเป็นผู้กำหนด แต่ปล่อยให้ความพอใจของตัวเองเป็นตัวนำทาง
.
5.การพักผ่อนคือยาวิเศษ
ในสังคมที่ยกย่องการทำงานหนัก ‘การพักผ่อน’ มักถูกมองข้าม แต่การพักผ่อนไม่ใช่รางวัล การพักผ่อนคือสิ่งจำเป็น โดยงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียพบว่า คนที่หยุดพักอย่างสม่ำเสมอมีโอกาสคิดวิธีแก้ปัญหาได้สำเร็จมากกว่าผู้ที่ทำงานต่อเนื่องถึง 26%
การพักผ่อนเป็นการรีเซ็ตจิตใจ เพื่อให้เรากลับมาทำงานด้วยพลังและความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ การพักผ่อนคือส่วนหนึ่งของวงจรประสิทธิภาพการทำงาน และการพักผ่อนคือการให้เกียรติตัวเอง เพื่อให้เราเดินหน้ากับงานต่อได้ด้วยความชัดเจน ความยืดหยุ่น และทำอย่างมีเป้าหมาย
ความขยันที่เกินพอดีเปรียบเหมือนกับเสียงกระซิบเบาๆ ที่เร่งให้เราต้องก้าวไปข้างหน้าเสมอ แต่การใช้ชีวิตภายใต้ความเร่งรีบ ก็จะทำให้เราพลาดช่วงเวลาปัจจุบันและทำให้ความสุขห่างออกไป เพราะชีวิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด อาจไม่ใช่ชีวิตที่สุขที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก THE STANDARD WEALTH
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
OANDA
Pepperstone
FP Markets
XM
Neex
FBS
OANDA
Pepperstone
FP Markets
XM
Neex
FBS
OANDA
Pepperstone
FP Markets
XM
Neex
FBS
OANDA
Pepperstone
FP Markets
XM
Neex
FBS